วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข้อสอบกลางภาควิชา ระบบปฏิบัติการ 1

1. จงบอกองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์และหน้าที่ระบบปฏิบัติการ
- องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ มี 4 ส่วนคือ
1.ฮาดแวร์ (Hardward)
2.ซอฟแวร์ (Softward)
3.บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware)
4.ข้อมูล (Data)
- หน้าที่ที่ของระบบปฏิบัติการ คือ
1.การติดต่อกับผู้ใช้
2.การควบคุมดูแลอุปกรณ์
3.การจัดสรรทรัพยากร


2. system Call มีหน้าที่อย่างไร อยู่ส่วนไหนของระบบปฏิบัติการ (จงวาดโครงสร้างของระบบประกอบ)
- System Call ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง Application Program กับ Hardware หรือ การจัดการกับระบบต่างๆ เช่นระบบไฟล์ หรือการจัดการ Process ของ OS นั้น Application จะติดต่อ OS ได้อย่างไร วิธีที่ OS ใช้ก็คือการมี System Call ที่เปรียบเสมือน Subroutine ใน OS โปรแกรมจะเรียกใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ ของ OS เหมือนการเรียกใช้ Subroutine ซึ่ง compiler ในภาษาโปรแกรมจะแปลงโปรแกรมย่อยนั้นให้เป็นวิธีการเรียก System Call ในระบบ multitasking ที่มีหลายงานทำงานพร้อมกัน OS จะแยก Application Program ออกจาก Hardware และตัว OS เอง ดังนั้น Application จะไม่สามารถเรียกโดยการกระโดดเข้ามาทำงานในตำแหน่งของโปรแกรมย่อยโดยตรงได้ การเรียกใช้ System Call นั้นมักจะอาศัยคำสั่งภาษาเครื่องพิเศษคือ Software Interrupt พร้อมกับส่ง parameter เข้าไปให้ OS กับประเภทการประมวลผล
- การควบคุมโปรเซส
- การจัดการกับไฟล์
- การจัดการดีไวซ์
- การบำรุงรักษาข้อมูล
- การติดต่อสื่อสาร



3. โครงสร้างของ Kernal แบบ Micro Kernal และ Monolithic Kernal
- เคอร์เนล [1] (kernel อ่านว่า เคอร์เนิล) หมายถึง ส่วนประกอบหลักของระบบปฏิบัติการ ซึ่งคอยดูแลบริหารทรัพยากรของระบบ และติดต่อกับฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ เนื่องจากว่าเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ เคอร์เนล นั้นเป็นฐานล่างสุดในการติดต่อกับทรัพยากรต่างๆ เช่น หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง และ อุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต 1. ประเภทรูปแบบ เคอร์เนล

รูปภาพแสดงหลักการทำงานของโมโนลิทริค เคอร์เนล

1. 1. โมโนลิทริค เคอร์เนล (Monolithic kernel) โมโนลิทริค เคอร์เนลมีอยู่ใน: Linux kernel MS-DOS, Microsoft Windows 9x Series (Windows 95 Windows 98 เป็นต้น) Agnix 1. 2. ไมโครเคอร์เนล (Microkernel)

รูปภาพแสดงหลักการทำงานของไมโครเคอร์เนล

ตัวอย่างของไมโครเคอร์เนล และ ระบบปฏิบัติการที่มีพื้นบน ไมโครเคอร์เนล: - AIX - AmigaOS - Amoeba - Chorus microkernel - EROS - Haiku - K42 - LSE/OS - KeyKOS - The L4 microkernel family - Mach, used in GNU Hurd, NEXTSTEP, OPENSTEP, and Mac OS X - MERT - Minix - MorphOS - NewOS - QNX - Phoenix - RTOS - RadiOS - Spring operating system - VSTa - Symbian OS



4. จงอธิบายการทำงานของ Process State และการตัดสินใจ ของ CPU ว่าจะดึง Process ไหนมาทำงาน
- Process (สถานะของโปรเซส) การแสดงสถานะของโปรเซสที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อแต่ละโปรเซสกำลังทำงานอยู่นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะของโปรเซสในแต่ละช่วงเวลา โดยการทำงานของโปรเซสจะเกิดขึ้นบนสถานะใดสถานะหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสถานะของโปรเซสประกอบด้วย
1. New คือ สถานะที่โปรเซสใหม่กำลังถูกสร้างขึ้น
2. Ready คือ สถานะที่โปรเซสกำลังรอคอยหรือพร้อมที่จะครอบครองหน่วยซีพียูเพื่อทำงาน
3. Running คือ สถานะที่โปรเซสได้ครอบครองซีพียู หรือโปรเซสที่กำลังทำงานตามคำสั่งของโปรแกรม
4. Waiting คือสถานะที่โปรเซสได้สิ้นสุดลง จากสถานะของโปรเซส จะทำให้ทราบว่าโปรเซสใดที่ถูกส่งไปให้ ซีพียูทำงานก่อน ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องมีการตัดสินในการส่งโปรเซสเข้าครอบครองซีพียู


5. จงอธิบายรายละเอียดและหน้าที่ของ PCB (Process Control Block)
- PCB ( Process Control Block ) บล็อกควบคุมโปรเซส เป็นหน้าที่ของหน่วยความจำที่ระบบปฏิบัติการกำหนดไว้เพื่อเก็บข้อมูลที่สำคัญของโปรเซสไว้ เมื่อระบบปฏิบัติการมอบเวลาซีพียูให้โปรเซสอื่นครอบครองหลังจากโปรเซสนั้นได้กลับมาครอบครองเวลาซีพียูอีกครั้งหนึ่ง โปรเซสจะนำข้อมูลกลับมาใช้งานข้อมูลของ PCB ของโปรเซส


6. จงบอกความแตกต่างของ Process และ Thread
- Process คือ โปรแกรมที่กำลังเอ็กซิคิวต์อยู่ โปรเซสนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบแบ่งเวลาที่จำเป็นต้องใช้รีซอร์สของระบบเพื่อให้งานสำเร็จรีซอร์สที่ต้องการ
- Thread คือ ส่วนประกอบย่อยของโปรเซสนั่นเอง


7. ข้อควรพิจารณาในการออกแบบ Algorithm ที่ใช้จัดการเวลาใน CPU คือ
- 1. อรรถประโยชน์ของซีพียู (CPU Utilization)
2. ทรูพุฒ ( Throughput )
3. เวลาทั้งหมด (Turnaround Time )
4. เวลารอคอย ( Waiting Time )
5. เวลาตอบสนอง ( Response Time )


8. จงบอกหลักการและวิธีการทำงานของ Algorithm ที่ใช้ในการจัดการเวลาใน CPU ตลอดข้อดีและข้อเสีย
- วิธีการทำงานของ Algorithm แบบ FCFS คือ ลักษณะการทำงานของการจัดการซีพียู แบบมาก่อนได้ก่อนนี้ เป็นอัลกอลิทึมแบบไม่ให้สิทธิก่อน นั่นก็คือเมื่อโปรเซสใดครอบครองเวลาซีพียุแล้ว ซีพียูจะไม่มีโอกาสได้ว่างจนกว่าความต้องการใช้ซีพียูนั้นจะสิ้นสุดลงด้วยการสลับไปยังเวลา อินพุต / เอาต์พุต ซึ่งจะก่อเกิดปัญหาใหญ่ให้กับระบบคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลาเพราะผู้ใช้คนอื่นๆอาจต้องรอคอยเวลาให้โปรเซสของตนเอง ซึ่งอาจเป็นโปรเซสที่สั้นๆ เสร็จลงพร้อมๆกับโปรเซสของผู้อื่นที่ใช้เวลายาวนานกว่ามากๆ
- วิธีการทำงานของ Algorithm แบบ SJF คือ เป็นวิธีที่ไม่ได้คำนึงถึงลำดับในคิวงาน ว่างานใดมาก่อน แต่จะพิจารณาถึงงานหรือโปรเซสที่ใช้เวลาการประมวลผลน้อยที่สุดก็จะได้บริการหน่วยซีพียูก่อน อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มงานมีเวลาประมวลผลเท่ากัน ก็จะพิจารณาโปรเซสแบบมาก่อนได้ก่อนแทน วิธีการทำงานของ Algorithm แบบ วิธีตามลำดับความสำคัญ คือ เป็นวิธีที่มีการกำหนดความสำคัญของโปรเซสแต่ละโปรเซสไม่เท่ากัน ดังนั้นโปรเซสที่จะเข้าครอบครองซีพียู ต้องมีลำดับความสำคัญสูงสุดในกลุ่ม ดังนั้นโปรเซสใดที่มีลำดับความสำคัญสูงกว่าก็จะถูกส่งไปประมวลผลก่อน ถึงแม้ว่าจะมาทีหลังก็ตาม ในขณะที่โปรเซสที่มีความสำคัญต่ำกว่าถึงแม้จะมาก่อน ก็จะถูกพิจารณาทีหลังก็ตามลำดับความสำคัญต่อไป
- วิธีการทำงานของ Algorithm แบบ วิธีหมุนเวียนการทำงาน คือ การจัดตารางด้วยวิธีการหมุนเวียนการทำงานนี้ ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลา โดยจะใช้พื้นฐานวิธีแบบมาก่อนได้ก่อน (FCFS) เป็นหลัก แต่โปรเซสจะไม่สามารถครอบครองซีพียูได้เท่ากับเวลาที่ต้องการ ดังนั้น ด้วยวิธีนี้จึงมีการกำหนดให้แต่ละโปรเซสที่เข้าใช้บริการซีพียูจะถูกจำกัดด้วยเวลาใช้งานที่เท่าๆ กัน ซึ่งช่วงเวลาสั้นๆ ที่เรียกว่า เวลาควันตัม (Quantum Time) โดยอาจมีช่วงเวลาระหว่าง 10 ถึง 100 มิลลิวินาที ครั้นเมื่อโปรเซสใดถูกประมวลผลจนครบเวลาควันตัมแล้ว ก็จะถูกนำออกไปจัดคิวต่อท้ายใหม่ (กรณียังประมวลผลไม่เสร็จ) และจะนำโปรเซสลำดับถัดไปในคิวมาประมวลผล ซึ่งเป็นไปในลักษณะหมุนเวียนกันทำงานนั้นเอง ดังนั้นโปรเซสจะไม่สามารถใช้เวลาเกินกว่าเวลาควันตัมที่กำหนด แต่สามารถใช้เวลาประมวลผลน้อยกว่าเวลาควันตัมได้


9. เงื่อนไขที่ทำให้เกิด DeadLock มีอะไรบ้าง
- วงจรอับอาจจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเงื่อนไขทั้งสามข้อต่อไปนี้เกิดขึ้น
1. เมื่อมีทรัพยากรที่ไม่สามารถถูกใช้ร่วมกับหลายๆ โปรเซสพร้อมกันได้ (Mutual exclusion condition) ถ้ามีทรัพยากรอย่างน้อย 1 ตัวในระบบที่จะยอมให้โปรเซสเพียง 1 ตัวใช้งานมันได้เท่านั้น นั่นก็คือถ้ามีโปรเซสอื่นเข้ามาร้องขอใช้งาน โปรเซสนั้นจะต้องรอจนกว่าโปรเซสดังกล่าวได้ใช้งานเสร็จและปล่อยทรัพยากรนั้นว่าง
2. เมื่อมีการถือครองและรอ (Hold and wait condition)ถ้าโปรเซสสามารถถือครองทรัพยากรที่ตัวเองได้รับ และในขณะเดียวกันก็สามารถทำการร้องขอทรัพยากรเพิ่มเติมได้
3. เมื่อการทำงานในระบบไม่มีการแทรกกลางคัน (No preemption condition) ถ้าโปรเซสกำลังใช้งานทรัพยากรอยู่และระบบไม่สามารถบังคับให้โปรเซสนั้นปลดปล่อยทรัพยากรนั้นให้เป็นอิสระได้ โดยทรัพยากรจะเป็นอิสระได้ก็จ่อเมื่อโปรเซสยกเลิกการถือครองเท่านั้น อย่างไรก็ เงื่อนไขทั้งสามอาจจะทำให้เกิด หรือ ไม่ทำให้เกิดวงจรอับก็ได้ วงจรอับจะเกิดขึ้นจริง ๆ ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขเกิดขึ้น
4. เมื่อเกิดวงจรรอคอย () ถ้าเกิดวงจรลูกโซ่ของโปรเซส 2 ตัว หรือมากกว่า ที่ต่าง ๆ รอคอยทรัพยากรที่ถือครองโดยโปรเซสที่อยู่ในวงจรลูกโซ่นั้น


10. Virtual Memory คืออะไร มีกระบวนการทำงานอย่างไร
- Virtual Memory คือ หน่วยความจำเสมือน หน่วยความจำเสมือนจะใช้พื้นที่หน่วยความจำสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ มาเป็นส่วนหหนึ่งของหนึ่งของหน่วยความจำหลัก ด้วยการจำลองพื้นที่หน่วยความจำบนฮาร์ดดิสก์เสมือนเป็นหน่วยความจำหลักที่เชื่อมโยงกับหน่วยความจำหลักเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้น หน่วยความจำเสมือนจึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์ไปใช้งาน


11. จงหาค่าเฉลี่ยเวลาการใช้ CPU ของโปรเซสที่กำหนดให้ต่อไปนี้ (แสดงวิธีทำและขั้นตอนอย่างละเอียด)
11.1 Algorithm แบบ FCFS

11.2 Algorithm แบบ SJF
11.3 Algorithm แบบ Round Robin Quantum Time = 8

11.4 Algorithm แบบ Priority โดย Process มี Priority ดังนี้ 4,3,2,1,6,5
11.5 ถ้า Process ที่ 2,4,6 เป็นงานที่ต้องการแบบเร่งด่วน (ForeGround) และ Process 1,3,5 ต้องการเป็นลำดับถัดมา (Background) จงใช้ Algorithm ในการหาค่าเฉลี่ยดังกล่าว

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

MSconfig


System Configuration Utility (msconfig)

-เมื่อเครื่องของเรามีปัญหา เช่น Boot ไม่ขึ้น หรือ Boot แล้วเข้าสู่วินโดวส์ได้แล้ว แต่ทำงานผิดปกติไป เช่น มีตัวอะไรแปลกๆโผล่ขึ้นมา เครื่องช้าลง มีอาการฟ้องว่า หน่อยความจำของเราเหลือน้อยเกินไป (ทั้งๆที่มีตั้ง 256 แล้ว) เครื่องมือตัวนี้จะมีส่วนช่วยเราอย่างมากในการสืบเสาะ ค้นหาว่าอะไรคือตัวการสำคัญที่ทำให้เครื่องเราเพี้ยนไป
- หลักการคือ เมื่อเครื่องของเรามีอาการไม่ดีขึ้น สิ่งที่เราต้องทำคือ
1. ตั้งสมมุติฐานว่า มันน่าจะเกิดจากปัญหาทางด้านอุปกรณ์ (Hardware) หรือทางด้านโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ (Software ซึ่งหมายรวมถึง OS ด้วย)
2. ทำการตรวจหาต้นตอให้พบ
3. ลองทดสอบโดยการยกเลิกการใช้งานสิ่งที่ต้องสงสัยชั่วคราว หากยกเลิกแล้วเครื่องเราทำงานได้ปกติ แสดงว่าสิ่งนั้นน่าจะเป็นต้นเหตุของปัญหาจริงๆ
4. พิจารณาว่าจะจัดการอย่างไรกับต้นเหตุนั้นๆ เช่น ถอนออกไปเลย ติดตั้งใหม่ ซ่อม เปลี่ยนตัวใหม่ หรือเลิกใช้มันไปเลย
5. ท้ายสุด ให้ลองกลับไปศึกษาการใช้งานของเครื่องมือตัวนั้นๆให้ดีว่า มันมีข้อควรระวังอะไรบ้าง แล้วเราได้ทำอะไรที่ฝืนกับข้อระวังนั้นหรือไม่ เครื่องจะได้ไม่มีปัญหาอีก
- เอาล่ะ ในที่นี้จะขอคิดว่า เครื่องเรามีปัญหาด้าน Software นะ เจ้า System Configuration Utility (msconfig) นั้น หลายคนมักใช้ในการปรับแต่งด้านประสิทธิภาพของเครื่อง ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว Function ตัวนี้นั้น ถูกทำขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจหาสาเหตุของอาการผิดพลาดที่เกิด ขึ้น ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาณ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเบื้องต้นเป็นหลัก (แต่ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มสมรรถณะของเครื่องเราให้เพิ่มขึ้นได้ ในทางอ้อม) โดยจะแนะนำให้รู้จักเจ้า System Configuration Utility (msconfig) คร่าวๆกันก่อนนะ

- เราสามารถที่จะเรียกใช้เจ้า System Configuration Utility ขึ้นมาได้หลายทาง แต่ขอแนะนำทางที่ง่ายที่สุด โดยให้เราทำดังนี้
- ให้เราไปที่ Start >> Run >> จากนั้นพิมพ์คำว่า msconfig ลงไป แล้ว OK เจ้า System Configuration Utility ก็จะปรากฏขึ้นมาพร้อมให้เราใช้งานดังภาพด้านล่าง

- เราจะมาอธิบายถึงรายละเอียดคร่าวๆกันว่ามีอะไรน่าสนใจมั่งใน TAB General นั้นจะประกอบไปด้วย


- Option Normal ทั่วไปใหญ่ๆ ส่วนมากจะมีผลต่อการบูตเครื่องของเรา ว่าจะให้เครื่องเราบูตขึ้นมาได้ด้วยลักษณะแบบไหน เช่น
> Option Normal Statup นั้น หากเราเลือกไว้ จะทำให้เครื่องของเราบูตขึ้นมาพร้อมกับโหลดโปรแกรมหรือ Service ต่างๆที่ติดตั้งลงในเครื่องของเราขึ้นมาหมดทุกตัว จะส่งผลให้เครื่องของเรามีสถานะที่พร้อมใช้ Function ของโปรแกรมทุกตัวที่มีในเครื่อง แต่จะส่งผลให้เครื่องของเราบูตช้าลง และทำให้หน่วยความจำถูกใช้งานไปมาก จึงไม่เหมาะสำหรับเครื่องที่มี RAM ต่ำๆ
- ผลจากการเลือก Option ตัวนี้ จะเห็นว่าเครื่องโหลดโปรแกรมต่างๆขึ้นมาเพียบเลย

> Option Diagnostic Startup นั้น หากเราเลือกจะทำให้เครื่องเราโหลดเฉพาะ Service และโปรแกรมที่จำเป็นต่อการบูตเครื่องให้ได้ขึ้นมาเท่านั้น


> Option Selective Startup นั้น หากเราเลือกตรงนี้ เราสามารถจะเข้าไปเลือกในหมวดย่อยๆตรงกรอบสี่เหลี่ยมด้านล่างได้อีก ว่าระหว่างที่เครื่องกำลังบูตขึ้นมานั้น จะให้อะไรหรือไม่ให้อะไรโหลดขึ้นมา (เราจะสังเกตได้ว่าเจ้าปุ่มสี่เหลี่ยมนั้นมีชื่อคล้ายกับ TAB ต่างๆด้านบนสุด) พร้อมๆกับที่เครื่องกำลังบูตครับ โดยความหมายคือ
- ถ้ามีเครื่องหมาย หมายถึงให้โหลด Service หรือโปรแกรมทุกตัวที่อยู่ใน Tab นั้นๆขึ้นมาทั้งหมด
- ถ้ามีเครื่องหมาย หมายถึงให้โหลด Service หรือโปรแกรมบางตัวที่อยู่ใน TAB นั้นๆขึ้นมา โดยเราต้องเข้าไปเลือกเอา วิธีการจะว่ากันทีหลัง
- ถ้ามีเครื่องหมาย หมายถึงไม่ให้โหลด Service หรือโปรแกรมใดๆใน Tab นั้นๆขึ้นมาเลย

- ผลจากการเข้าไปปรับแต่งใน Option ตัวนี้ จะเห็นว่าเครื่องโหลดอะไรขึ้นมาน้อยลง



ใน Tab BOOT.INI นั้น จะประกอบไปด้วย


- ส่วนของ Boot Option ในส่วนนี้ เราสามารถเลือกได้ว่าจะให้เครื่องของเราบูตขึ้นมาในลักษณะแบบไหน โดยติ๊กให้มีเครื่องหมาย ในหัวข้อที่ต้องการ ดังเช่น
Minimal ระบบจะโหลดเครื่องมือต่างๆมาน้อยที่สุดครับเหมือนกับกด F8
Network ระบบจะโหลดเข้าสู่เซฟโหมดโดยโหลดระบบ Network ขึ้นมาใช้งานด้วย
DSRepair
Minimal (Alternateshell)


> SAFEBOOT -- อันนี้จะเป็นการทำให้เครื่องของเราบูตเข้ามาใน Safe Mode ครับ เหมือนกับกด F โดยเรายังสามารถเลือกรายละเอียดที่ลึกลงไปได้อีก เช่น
> Minimal ระบบจะโหลดเครื่องมือต่างๆมาน้อยที่สุดครับเหมือนกับกด F8
> Network ระบบจะโหลดเข้าสู่เซฟโหมดโดยโหลดระบบ Network ขึ้นมาใช้งานด้วย
> DSRepair
> Minimal (Alternateshell)


- NOGUIBOOT -- อันนี้เครื่องจะบูตโดยไม่มีหน้าจอที่มีแถบสีฟ้าวิ่งๆนะ

- BOOTLOG -- อันนี้จะทำให้บูตขึ้นมาเหมือนปกติครับ แต่ระบบจะบันทึกเหตุการณ์ต่างๆเอาไว้ใน Log File ด้วย
- BASEVIDEO -- อันนี้เครื่องจะบูตขึ้นมาพร้อมๆกับใช้ทรัพยากรด้านจอภาพอย่างมากที่สุด เพื่อสำหรับให้เราทดสอบความสามารถของระบบการประมวลผลภาพ
- SOS -- อันนี้ระบบจะบูตขึ้นมาแบบโหมดตัวอักษร ไม่มีกราฟฟิกใดๆจนกว่าจะเข้าสู่วินโดวส์เรียบร้อยแล้ว


- ในส่วนของ TimeOut จะมีหน่วยเป็นวินาที เพื่อเป็นการหน่วงเวลาเอาไว้ให้เราเลือกว่าจะบูตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการอัน ไหน ในกรณีที่เรามีระบบปฏิบัติการมากกว่า 1 เราสามารถปรับให้ช้าขึ้นหรือเร็วลงได้ ในที่นี้ตั้งค่าหน่วงเวลาไว้ 30 วินาที


- ในส่วนของ Boot Loader นั้น เราสามารถปรับแต่งได้ว่าจะให้ระบบปฏิบัติการตัวไหนเป็นดีฟอลต์ คือเป็นระบบปฏิบัติการตัวแรกที่จะใช้ โดยจะส่งผลให้เมื่อเราบูตเครื่องขึ้นแล้ว ไม่กดปุ่มใดๆภายในระยะเวลาที่กำหนด เครื่องก็จะบูตเข้ามาสู่ระบบที่เราตั้งเป็นดีฟอลต์นี้ครับ ซึ่งทำได้โดยให้เราทำการคลิ๊กที่ OS ระบบปฏิบัติการที่เราต้องการให้เป็นดีฟอลต์ครับ แล้วกด Set as Default ครับ แค่นี้ ระบบนั้นๆก็จะกลายเป็นระบบแรกที่จะถูกบูตขึ้นมาแล้ว


- แต่ถ้าต้องการให้ชื่อของระบบที่เรามีนั้นเรียงตามลำดับที่ต้องการเวลาโชว์ ที่หน้าจอตอนเลือกบูต ก็ให้ทำการกดปุ่ม Move UP หรือ Move Down เพื่อเลื่อนตำแหน่งขึ้นหรือลง
- ใน TAB Startup นั้น จะประกอบไปด้วยรายชื่อโปรแกรมต่างๆที่ได้ถูกกำหนดไว้ในตอนที่เรา Install ว่าให้บูตขึ้นมาพร้อมๆเครื่องได้ โดยจะแสดงทั้งตำแหน่งที่ติดตั้งโปรแกรมนั้นๆ และค่าในรีจิสทรี้ต่างๆด้วย

- วิธีการคือ เมื่อเราเข้ามาใน TAB นี้ ก็ให้เราเลือกดูในกรอบหมายเลข 2 ว่า มีโปรแกรมใดที่เราคิดว่าไม่จำเป็นต้องให้มันโหลดตัวเองขึ้นมาพร้อมๆกับ การบูตของเครื่อง ก็ให้เราเอาเครื่องหมาย ออกซะ แต่มีข้อแม้ว่า เราไม่ควรเอาโปรแกรมที่แสดงตำแหน่งที่ติดตั้งใน C:\WINDOWS ออก โดยที่เราไม่รู้ว่าโปรแกรมตัวนั้นทำหน้าที่อะไรจริงๆ เพราะอาจจะทำให้ระบบบูตไม่ขึ้นอีกเลยก็ได้ ส่วนในตำแหน่งอื่นๆนั้นเราสามารถเอาออกได้ครับ จากนั้นเมื่อเราบูตระบบขึ้นมาใหม่ โปรแกรมที่โหลดขึ้นมาด้วยก็จะน้อยลง ส่งผลให้เครื่องเราโหลดเร็วขึ้น ไม่สิ้นเปลืองหน่วยความจำ แล้วยังสามารถใช้ตรวจหาโปรแกรมต้องสงสัยที่ทำให้เครื่องเราแฮงค์ ซึ่งจะกล่าวในตอนท้ายได้ด้วย

- ใน TAB Services นั้น จะประกอบไปด้วย Services ต่างๆที่จะถูกโหลดขึ้นมาให้ใช้งานร่วมกับโปรแกรมต่างๆใน TAB Startup เราสามารถยกเลิก Service ต่างๆในนี้ได้ เพื่อให้เครื่องของเราไมต้องสูญเสียหน่วยความจำไปกับโปรแกรมที่เราไม่ได้ ใช้ โดยให้เอาเครื่องหมายที่หน้า Service นั้นๆออกครับ แต่ถ้าเราไม่รู้ว่า Service อันไหนเป็น Service ของระบบ แล้วเราไปยกเลิกเอามั่วๆ ก็จะส่งผลให้เครื่องเราบูตไม่ขึ้นอีกเลยได้เช่นกันวิธีที่ปลอดภัยในการยกเลิก Service คือให้เรากดที่ปุ่ม Hide All Microsoft Service เพื่อทำการซ่อน Service ที่เป็นของไมโครซอฟท์ทั้งหมด ก็จะเหลือแต่เพียง Service ของโปรแกรมอื่นๆทั้งหมดที่เราสามารถยกเลิกได้ คราวหน้าเวลาบูตเครื่องขึ้นมา Service ที่เรายกเลิกไว้ก็จะไม่โหลดตัวเองขึ้นมา



คราวนี้หลังจากที่เราปรับแต่งส่วนต่างๆจนหมดแล้ว ก็ให้เรากดที่ปุ่ม จากนั้นปุ่ม
จะเปลี่ยนเป็น

ก็ให้เรากดลงไป ต่อมา เครื่องจะร้องขอให้เรา Restart

- ถ้าเราเลือก Restart เครื่องก็จะทำการ Restart แต่ถ้าเรายังไม่ต้องการ Restart ตอนนี้ก็ให้กด Exit ในการตรวจหาว่าซอฟท์แวร์ตัวไหนที่เป็นปัญหาจนทำให้เครื่องของเรานั้นมีอาการ เพี้ยนไป เราจึงมักจะใช้เครื่องมือใน TAB Startup กับ Services ในการตรวจหา โดยให้เราทำการเข้าไปปิดโปรแกรมที่จะโหลดพร้อมเครื่องออกครั้งละโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องขึ้นมา ถ้าอาการยังไม่หาย ก็กลับไปเปิดโปรแกรมนั้นกลับคืนมา แล้วเลือกไปปิดโปรแกรมอื่นต่อ ทำไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบว่า เมื่อเราปิดโปรแกรมหรือ Service ตัวไหนแล้ว เครื่องเราไม่มีอาการเพี้ยนๆอีก ก็แสดงว่าโปรแกรมหรือ Services นั้นๆที่เราเพิ่งปิดลงไปเป็นตัวปัญหา จากนั้นเราจะพิจารณาปล่อยไว้อย่างนั้นเลยก็ได้ เพราะเราได้ปิดการทำงานของมันไว้แล้ว หรือจะทำการ Uninstall ออกซะ หรืออย่างไรก็สุดแท้แต่ครับอนึ่งบางคนเครื่องมีอาการถึงขั้นไม่สามารถบูตผ่านได้ ก็จำเป็นต้องเข้าไปทำใน Safe mode แทน โดยให้กด F8 ค้างไว้ขณะที่เครื่องกำลังบูต ก็จะเข้าสู่เซฟโหมดได้ แล้วก็ทำอย่างที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นได้เลย


เครดิด :
http://www.justusers.net/
ที่มา : http://www.itubon.com/บทความน่ารู้เกี่ยวกับแนะนำ---System-Configuration-Utility-(msconfig)/736

gpedit msc


gpedit.msc : กำหนดการใช้งานเครื่องคอมพ์ตามแบบของคุณ

- นอกจากเราจะจัดการใช้คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ได้ที่ Registry แล้ว ยังมีโปรแกรม gpedit.mscเป็นโปรแกรมเล็ก ๆ อยู่ในโฟลเดอร์ C:\WINDOWS\System32\gpedit.msc� มีขนาด 35 KB ที่ใช้ในการกำหนดการใช้โปรแกรมต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ได้ ไวรัสบางตัวปิด Regedit ไว้ด้วย ฝึกใช้ Gpedit ให้คล่องแล้วจะรู้ว่ามันแก้ได้หลายปัญหา...ลองเข ้าไปดู แล้ว Double Click ที่ชื่อไฟล์ดังกล่าว...เข้าไป ก็จะได้หน้าต่าง Group Policy ...เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาชั่วคราว หรือแก้อาการที่ตกค้างหลังจากกำจัดไวรัสแล้วเท่านั้น เพราะถ้าตัวไวรัสยังอยู่ในเครื่องถึงแก้ไปไวรัสมันก็ แก้กลับ ต้องกำจัดไวรัสให้หมดก่อนนะ ! จึงจะใช้วิธีการแก้นี้ได้



แล้วมันเป็นโปรแกรมอะไรละ ?

- สรุปได้ว่าคือ ช่องทางที่จะเข้าไปจัดการอ๊อปเจ็ค ของ Group Policy เป็นข้อกำหนดการใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ครับปัญหาอยู่ที่เราจะใช้อะไรได้บ้าง ทำอย่างไร ซึ่งตัวโปรแกรม gpedit.msc ก็มีคำอธิบายไว้ที่ Properties ไปที่แท๊ป Explain


Regedit เปิดไม่ได้ + CMD ใช้ไม่ได้
- เจ้าตัวแสบเอาอีกแล้ว กลัวเราเข้าไปแก้ค่าต่าง ๆ กลับ หรือเอามันออกจาก Registry มันก็เลยชิงลงมือก่อนกันไม่ให้เราเข้า Regedit ซะเลย อาการคือเมื่อเรียก Regedit จากเมนู Run มันดันแจ้งว่าโดนปิดการใช้ Regedit โดย Admin ซะงั้น...เรามาเรียกใช้บริการ Gpedit อีกทีแล้วกัน



Icons บน Desktop หาย
- เปิดเครื่องขึ้นมา Icons บน Desktop หายหมดมีแต่ WallPaper กับ Taskbar ไม่ต้องตกใจครับ เรียกใช้บริการ Gpedit ได้เลย....



ปุ่ม Shut Down หาย
- จะปิดเครื่องซะหน่อยปุ่ม Shut Down หายไปซะงั้น เจ้าไวรัสนี่เล่นแรงจริงๆ กะว่าห้าม Shut Down ห้าม Restart กันเลย ไม่ต้องตกใจ....




Registry


เทคนิคการปรับแต่ง Registry ที่ชื่นชอบ 10 อันดับแรก

1. วิธีการเพิ่มความเร็วให้กับ Start Menu
- เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Control Panel\Desktop] ต่อจากนั้นคลิกขวาที่ Folder ชื่อ Desktop นี้แล้วเลือก New >> String Value และให้เปลี่ยนชื่อเป็น MenuShowDelay เรียบร้อยแล้ว คลิกขวาแล้วเลือก Modify ที่ช่อง Value Data ให้คุณใส่เลข 1 ลงไป จากนั้นกด OK เรียบร้อยแล้ว Restart เครื่องใหม่

2. เพิ่ม IE Auto Scan
- ปกติเมื่อพิมพ์ชื่อเว็บ ถ้าโดเมนผิด IE จะหาโดเมนที่ถูกได้ โดยเป็น .com, .org, .net และ .edu แต่เราสามารถเพิ่มโดเมนให้กับ IE ได้ โดยไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Internet Explorer\Main\UrlTemplate] ที่หน้าต่างด้านขวา สร้างคีย์ชนิด String Value ตั้งชื่อเป็นตัวเลขต่อจากที่มีอยู่ เช่นถ้ามีถึง 4 ก็ใส่ชื่อเป็น 5 จากนั้นแก้ไขค่าคีย์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ ใส่เป็น www.%s.xxx ถ้าต้องการนามสกุลอื่น เช่น .gov ก็เพิ่มคีย์ใหม่ แล้วแก้ไขค่าเหมือนข้างต้น แต่เปลี่ยนส่วนขยายเป็น .gov เป็นต้น

3. การถอดรหัส Logon บนวินโดวส์
- เข้าไปที่ C:\Windows แล้วหาไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .pwl ถ้าต้องการที่จะทำลายรหัสทิ้งไปเลย ก็ให้ลบไฟล์นี้ทิ้งไปได้เลย แต่ถ้าต้องการจะเปลี่ยนรหัสแค่ชั่วครั้งชั่วคราว ก็ให้เปลี่ยนนามสกุลของไฟล์จาก .pwl เป็นชื่ออื่นๆอะไรก็ได้ แล้วเมื่อ Logon มาอีกที มันก็จะให้กรอกรหัสใหม่

4. เคลียร์ Bios ด้วยการ Debug
- Start >> Program >> Accesories >> MS-DOS Promptพอหน้าจอขึ้น C:\ ให้พิมพ์คำว่าDebug (Then the cursor change to - )- o 70 2e (โอ วรรค เจ็ดศูนย์ วรรค สองอี)- o 71 ff (โอ วรรค เจ็ดหนึ่ง วรรค เอฟเอฟ)- q (คิว)

5. ปรับค่าเดียลอัพให้ดีที่สุด
- ถ้าจะปรับแต่งค่าการรับข้อมูลของ Dialup ให้ดีที่สุด เพราะค่าของวินโดวส์ที่กำหดให้มานั้นไม่เหมาะสม ให้เปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\System\CurrentControlSet\Services\Class\NetTrans] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า MaxMTU ชนิด String Value เป็น 576 และลองหาหรือเพิ่มค่า MaxMSS ชนิด String Value เป็น 536 จากนั้น Save แล้วออกจากโปรแกรมแล้ว Restart ใหม่

6. การแก้ปัญหาลืม Password ใน WinRoute
- วิธีการแก้ไขก็คือ ให้คลิกขวาที่ Icon ของ WinRoute ตรงมุมขวาล่างของหน้าจอ และเลือกไปที่ Stop WinRoute Engine จากนั้นจะเห็นว่า Icon ของ WinRoute จะเปลี่ยนไปเป็นสถานะที่มีเครื่องหมายลบสีแดงทับอยู่ ต่อจากนั้นให้เปิด Regedit และไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Kerio\WinRoute\User\0] ซึ่งเมื่อพบแล้ว ให้ลบคีย์ 0 นี้ทิ้ง จากนั้นให้คลิกที่คีย์ User และไปที่เมนู Registry >> Export Registry File เพื่อทำการ Export เก็บเป็น Registry File เอาไว้
- ต่อไปให้คุณย้อนขึ้นไปคลิกที่คีย์ชื่อ WinRoute และฝั่งขวาให้มองหา AdminUserAdded เมื่อพบแล้ว ให้ดับเบิลคลิกมันขึ้นมา แล้วแก้ Value Data เป็น 0 และกด OK คราวนี้ให้คุณทำการ Start The WinRoute Engine แล้วทำการดับเบิลคลิกที่ Icon ของ WinRoute ตรงมุมขวาล่างของหน้าจอขึ้นมา เพื่อทำการ Login โดยที่ช่อง Username นั้นก็ใส่คำว่า Admin เอาไว้เหมือนเดิม ส่วนช่อง Password ปล่อยเป็นว่างๆเอาไว้ ไม่ต้องใส่อะไร และกดปุ่ม OK ได้เลย ซึ่งหลังจากกด OK ก็จะเห็นได้ว่า สามารถทำการ Login เข้าไปใช้งาน WinRoute ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องใส่ Password แต่อย่างใด
- แต่ยังไม่จบเพียงเท่านี้ คราวนี้จำเป็นที่จะต้องทำการ Stop The WinRoute Engine อีกครั้ง จากนั้นไฟล์ที่เรา Export เอาไว้ ให้ดับเบิลคลิกมันและตอบ Yes และ OK ได้ทันที เรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็ให้ทำการ Start The WinRoute Engine อีกครั้ง ใช้งานได้ตามปกติ และก็จะสามารถเข้าไปใช้งาน WinRoute ในส่วนของ Admin ได้แล้ว แต่ยังไงก็อย่าลืมเข้าไปเปลี่ยนหรือกำหนด Password ต่างๆใหม่ด้วย ที่เมนู Settings >> Accounts แล้วทีนี้ก็จำไว้ดีๆ อย่าลืมอีก

7. เคลียร์การจำการใช้งานใน Document ใน Start Menu
- เราสามารถเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ไม่ให้ผู้อื่นรู้ว่าเราใช้งานอะไรบ้าง ทำได้โดยเปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] ที่หน้าต่างด้านขวา ให้หาหรือเพิ่มค่าชนิด DWORD Value แล้วใส่ชื่อเป็น ClearRecentDocsOnExit ดับเบิลคลิก ใส่ค่าเป็น 1

8. เพิ่มค่าเซสชั่นในการเชื่อมต่อให้มากขึ้น
- ในวินโดวส์นั้นกำหนดค่าสูงสุดของ HTTP Sessions ไว้จำกัดสำหรับ HTTP 1.0 เป็น 4 ซึ่งทำให้ควรเปิดหน้าต่างอินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์ได้สูงสุด 4 หน้าต่าง แต่ถ้าใช้ HTTP 1.1 นั้นเป็น 2 ซึ่งยิ่งน้อยไปใหญ่ ถ้าคุณจะเพิ่มค่าก็ทำได้โดยเปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Internet Settings] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า MaxConnectionsPerServer (สำหรับ 1.1) และ MaxConnectionsPer1_0Server (สำหรับ 1.0) เป็นค่าแบบ DWORD Value แล้วกำหนดค่าเป็น 8 ทั้งสองตัวก็ได้

9. Shortcut เดียว เปิดหลายโปรแกรม
- ให้เปิด Notepad ขึ้นมาค้างเอาไว้ก่อน ต่อจากนั้นไป Copy ส่วนของ Target ของ Shortcut แต่ละตัวเข้ามาไว้ใน Notepad นี้ โดยวิธีการเข้าไป Copy Target ก็คือ ให้คลิกขวาที่ Shortcut ของโปรแกรมที่ต้องการจะให้มีการเปิด แล้วเลือก Properties และที่หัวข้อ Shortcut ก็จะพบกับส่วนของ Target: ให้ทำการ Copy ข้อความในส่วนนี้มาทั้งหมด

- เมื่อ Copy ได้เรียบร้อยแล้ว ให้กด Cancel ไป จากนั้นกลับมาที่ Notepad แล้วทำการวางข้อความ Target ที่ได้ Copy มาเอาไว้ใน Notepad

- ข้อควรระวังในจุดนี้ก็คือ
1. เวลานำมาวางใน Notepad ต้องเว้นบรรทัดในแต่ละ Target ด้วย มิเช่นนั้นจะถือว่าผิด
2. ห้ามลบเครื่องหมายฟังหนู (") ออก ให้คุณใส่เอาไว้เช่นนั้น มิเช่นนั้นจะถือว่าผิด

- จากนั้นเมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้ Save ข้อมูลต่างๆใน Notepad ตัวนี้เป็น Batch File ซึ่งวิธีการ Save เป็น Batch File ก็คือ ให้ Save ไฟล์นี้ให้มีนามสกุลเป็น .bat นั่นเอง โดยจะใช้ชื่อว่าอะไรก็ได้ สำหรับในตัวอย่างนี้ จะ Save เป็นไฟล์ชื่อว่า Test.bat โดยที่ระหว่าง Save ให้กำหนด Save as type: เป็น All Files (*.*) ด้วย มิเช่นนั้นชื่อไฟล์อาจจะมี .txt ต่อท้ายด้วย ก็จะทำให้ผิด และไฟล์ๆนี้สามารถ Save ไว้ที่ Directory ไหนภายในเครื่องก็ได้

10. ปรับค่าคอนฟิคในการต่อเน็ตให้ดีที่สุด
- ถ้าจะปรับแต่งค่าการรับข้อมูลของ RcvWindow และ DefaultTTL ให้ดีที่สุด ให้เปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\System\CurrentControlSet\Services\VxD\MSTCP] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า DefaultRcvWindow ชนิด String Value เป็น 4288 และลองหาหรือเพิ่มค่า DefaultTTL ชนิด String Value เป็น 128 จากนั้น Save แล้วออกจากโปรแกรมแล้ว Restart ใหม่

ที่มา : http://www.justusers.net/articles/utilities/registry/registry.htm

ระบบปฏิบัติการ DOS


ระบบปฏิบัติการ DOS เป็นอย่างไร ?

ภาพโปรแกรมดอส (DOS)

- DOS เป็นระบบปฏิบัติการ (operating system) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆการเรียก DOS ขึ้นมาใช้งานจะเรียกว่า การ Boot DOS
- ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปใช้ระบบปฏิบัติการที่จัดเก็บอยู่บนแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ เอ็มเอสดอส (Microsort Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์คอร์ปอเรชัน ระบบปฏิบัติการนี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้ใช้และพัฒนาการทางด้านซอฟต์แวร์และฮารด์แวร์

- ดอส เป็นระบบปฏิบัติการบนเครื่องพีซีสำหรับเครื่องไอบีเอ็ม หรือไอบีเอ็มคอมแพตติเบิ้ลที่เคยเป็นที่นิยมใช้งานมากในอดีตหรือแม้แต่ในปัจจุบันก็ยังมีการใช้งานกันอยู่ ดอสเป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการทำงานเป็นแบบงานเดียว (Single task) ซึ่งหมายความว่าขณะที่มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานใดอยู่นั้น จะต้องรอจนกว่างานนั้นจะเสร็จก่อนจึงจะสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างอื่นต่อไป ตัวอย่างเช่น ถ้าสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์ไฟล์ออกทางเครื่องพิมพ์ ก็จะต้องรอจนกว่าการพิมพ์นั้นจะเสร็จสิ้นจึงจะสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอื่นต่อไปได้

- ดอส เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากในหมู่ผู้ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นผลงานของบริษัทไมโครซอฟต์คอร์เปอร์เรชั่น(Microsoft Corporation) ความเป็นมาของเอ็มเอสดอสเริ่มจากที่บริษัทไอบีเอ็ม(IBM) ได้สร้างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีชื่อว่าพีซี (PC:personal computer) และว่าจ้างบริษัทไมโครซอฟต์ให้ช่วยออกแบบระบบปฏิบัติการของเครื่องพีซีนี้ โดยใช้ชื่อว่าพีซีดอส (PC-DOS) เครื่องพีซีได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จนมีบริษัทอื่น ๆ สร้างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เลียนแบบเครื่องไอบีเอ็ม ซึ่งสามารถทำงานได้เหมือนกัน เป็นเครื่องแบบเดียวกัน เรามักนิยมเรียกเครื่องที่สร้างเลียนแบบนี้ว่า “เครื่องคอมแพตติเบิ้ล” (compatible) ถ้าเครื่องคอมแพตติเบิ้ลต้องการทำงานให้เหมือนกับพีซีของไอบีเอ็มแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบปฏิบัติการที่เหมือนกัน แต่พีซีดอสเป็นลิขสิทธ์ของไอบีเอ็มที่ขายให้กับผู้ใช้เครื่องของไอบีเอ็มเท่านั้น ดังนั้นบริษัทไมโครซอฟต์จึงสร้างระบบปฏิบัติการใหม่ออกสู่ตลาด เพื่อให้เครื่องคอมแพตติเบิ้ลทั้งหลายได้ใช้ มีชื่อว่า เอ็มเอสดอส (MS-DOS) โดยไมโครซอฟต์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งเอ็มเอสดอสและพีซีดอสนี้ความจริงแล้วเหมือนกัน เป็นระบบปฏิบัติการตัวเดียวกัน เพียงแต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้นเอง (ด้วยเหตุผลเชิงพาณิชย์ที่กล่าวมา) เอ็มเอสดอสหรือพีซีดอสได้ถูกพัฒนาออกมาหลายเวอร์ชั่น โดยมีขีดความสามารถมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในเวอร์ชั่นหลัง ๆ ไอบีเอ็มได้แยกพัฒนาพีซีดอสด้วยตนเอง ทำให้พีซีดอสและเอ็มเอสดอสในเวอร์ชั่นหลัง ๆ มีความแตกต่างกัน (ซึ่งมักจะต่างกันทางด้านความสามารถพิเศษต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่แล้วยังคงเหมือนกันอยู่)

- ดอสมีต้นกำเนิดมาจากระบบปฏิบัติการ CP/M ที่ใช้กับเครื่อง 8 บิตในสมัยก่อน แต่ปัจจุบัน CP/M ไม่มีใช้กันแล้วบนเครื่องพีซี เนื่องจากการเข้ามาของดอสตัวใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วเพื่อให้ทันกับความสามารถของฮาร์ดแวร์ที่สูงขึ้น ปัจจุบันดอสที่เป็นที่รู้จักและยังเป็นที่นิยมใช้งานอยู่ได้แก่
> MS-DOS เป็นระบบปฏิบัติการบนเครื่องพีซีจากบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งสามารถใช้งานกับเครื่องพีซี ตั้งแต่ 16 บิตขึ้นไป โดย “MS” ย่อมาจาก Microsoft
> PC-DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาโดยความร่วมมือระหว่างบริษัทไมโครซอฟต์และไอบีเอ็ม เพื่อให้สามารถใช้กับเครื่องของไอบีเอ็มโดยเฉพาะ โดย “PC” ย่อมาจาก “Personal Computer”
> Novell’s DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาให้มีความสามารถทางด้านเครือข่าย ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก DR-DOS ที่สร้างโดยบริษัท Digital Research

- โดยทั่วไป MS-DOS และ PC-DOS จะมีรูปแบบการใช้งานเหมือนกัน แต่อาจมีการทำงานภายในของบางโปรแกรมหรือบางคำสั่งเท่านั้นที่ต่างกัน MS-DOS ได้มีการพัฒนามาพร้อมๆ กับเครื่องพีซี โดยครั้งแรกบริษัท ซีแอตเติลได้สร้างระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า 86-DOS เพื่อใช้งานกับซีพียู 8086 และพัฒนามาหลายรุ่นจนถึงรุ่น 86-DOS 1.0 บริษัทไมโครซอฟต์จึงได้ตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์ทั้งหมดของ 86-DOS จากซีแอตเติล และเปลี่ยนชื่อจาก 86-DOS เป็น MS-DOS และได้ทำการพัฒนา MS-DOS ให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของฮาร์ดแวร์ จากรุ่นหรือเวอร์ชั่น (version) แรกสุดคือ 1.0 ที่ออกมาในปี ค.ศ. 1981 ได้มีการพัฒนาปรับปรุง เวอร์ชั่นให้สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนในปัจจุบันเป็นเวอร์ชั่น 6.2 ที่ออกมาในปี 1993 และสำหรับ PC-DOS เวอร์ชั่นปัจจุบันคือ 6.1

- โดยทั่วไปซอฟต์แวร์เกือบทุกประเภทจะมีตัวเลขอยู่หลังชื่อซอฟต์แวร์นั้น เพื่อแสดงถึงเวอร์ชั่นที่มีการพัฒนา ยิ่งเวอร์ชันสูงมากขึ้นเท่าไรความสามารถของซอฟต์แวร์นั้นก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถใช้ประสิทธิ-ภาพของฮาร์ดแวร์ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วได้ดียิ่งขึ้น

- ปัจจุบันบริษัทไอบีเอ็มได้เลิกพัฒนาพีซีดอสแล้ว แต่หันไปสร้างระบบปฏิบัติการโอเอสทูขึ้นมา ส่วนบริษัทไมโครซอฟต์ยังคงพัฒนาเอ็มเอสดอสของตนต่อไปอีก เนื่องจากยังมีผู้นิยมใช้กันอยู่เป็นจำนวนมาก ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงลักษณะทั่ว ๆ ไปที่มีเป็นของทั้งเอ็มเอสดอสและพีซีดอส และจะขอเรียกสั้น ๆ ว่า“ดอส”ตามที่นิยมเรียกกัน

การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส
- การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
- การบูทเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2. Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
1. กดปุ่ม Reset
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ

ภาพแสดงหน้าจอการบูทเครื่องด้วยระบบปฏิบัติการดอส

การ Boot จากแผ่นดิสก์ มีขั้นตอนดังนี้
- นำแผ่น DOS ใส่ Drive A แล้วเปิดสวิตซ์เครื่อง รอสักครู่จะปรากฏไฟแดงที่ช่องขับจานแม่เหล็กช่อง A แสดงว่ากำลังอ่าน และถ่ายทอดข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่อง และเมื่อไฟแดงที่ช่องขับจานแม่เหล็กดับ จะมีข้อความปรากฏที่หน้าจอตามรูปแบบ ดังนี้

CURRENT DATE IS JAN 01-01-01
ENTER NEW DATE (MM-DD-YY)

หมายความว่า วันที่ในเครื่อง คือ วันจันทร์ที่ 1 เดือนมกราคม 2544 ถ้าถูกต้องตรงตามวันที่ใช้งาน ให้กดปุ่ม Enter ได้เลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ให้ใส่ วันที่ปัจจุบันลงไปตามที่กำหนด คือ

MM หมายถึง เลขที่ของเดือน ( 1-12 )
DD หมายถึง วันที่ปัจจุบัน ( 1-31 )
YY หมายถึง ปี ค.ศ.

เมื่อเติมวันที่ หรือ กดปุ่ม Enter ผ่านไป จะมีข้อความปรากฏที่หน้าจอ ดังนี้
CURRENT TIME IS 08:30:15.15
ENTER NEW TIME: ( HH-MM-SS )

หมายความว่า นี้เวลาในเครื่อง คือ 8 นาฬิกา 30 นาที 15 วินาที ถ้าถูกต้องตรงตามเวลาที่ใช้งาน ให้กดปุ่ม Enter ได้เลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ให้ใส่ เวลาปัจจุบันลงไปตามที่กำหนด คือ

HH หมายถึง เวลาเป็นชั่วโมง
MM หมายถึง เวลาเป็นนาที
SS หมายถึง เวลาเป็นวินาที (แต่ไม่จำเป็นต้องเติมเพราะเครื่องจะคำนวณให้อัตโนมัติ)

เมื่อเติมเวลา หรือ กดปุ่ม Enter ผ่านไป เครื่องก็จะขึ้นเครื่องหมาย A:> ที่หน้าจอ สัญลักษณ์นี้เรียกว่า A Prompt

A หมายถึง ขณะนี้เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังติดต่อกับช่องขับจานแม่เหล็ก A อยู่ ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามีฮาร์ดดิสก์และมีโปรแกรม DOS บรรจุอยู่ จะเห็นเป็นสัญลักษณ์เป็น C:> คือช่องขับจานแม่เหล็กช่อง C นั่นเอง

Prompt หมายถึง สัญลักษณ์ที่แสดงว่าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมที่จะปฏิบัติงานแล้ว เครื่องหมาย Prompt นี้ สามารถเปลี่ยนรูปแบบตามต้องการได้ คือ Prompt แล้วตามด้วยสัญลักษณ์ต่อไปนี้

$ คือ ตัวอักษร g คือ เครื่องหมาย >
T คือ เวลา l คือ เครื่องหมาย <>ตัวอย่าง เช่น C:\>PROMPT $ SOMCHAI กด ENTER
ผลคือ SOMCHAI
หรือ SOMCHAI PROMPT $P$G กด ENTER
ผลคือ C:\>

การ Boot จากฮาร์ดดิสก์ มีขั้นตอนดังนี้
- เปิดเครื่องโดยไม่ต้องใส่แผ่นดิสก์ใน Drive A
- DOS จะถูก Boot จาก Drive C: แทน ภายหลัง Boot จาก Drive C เสร็จแล้ว จะปรากฏสัญลักษณ์ C:\>

หลังจากที่มีการ Boot DOS เสร็จแล้ว เราสามารถใช้คำสั่งโปรแกรมจัดระบบงาน DOS ทำงานได้ทันที แต่ผู้ใช้ควรต้องรู้จักปรับปรุงคำสั่งรวมทั้งพิมพ์รูปแบบคำสั่งรวมทั้งพิมพ์รูปแบบคำสั่งให้ถูกต้อง เพราะถ้าพิมพ์คำสั่งไม่ถูกต้อง เครื่องจะไม่รู้จัก และจะปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้ และจะปรากฏข้อความว่า

" BAD COMMAND OR FILE NAME "

ถ้าเครื่องปรากฏข้อความดังกล่าวให้ผู้ใช้ปฏิบัติดังนี้ คือ
1. สำรวจดูว่าคำสั่งดังกล่าวพิมพ์ถูกต้องหรือไม่ หรือ
2. รูปแบบคำสั่งที่ใช้ถูกต้องหรือไม่

เมื่อผู้ใช้ทำการสำรวจข้อผิดพลาดดังกล่าวแล้ว ให้แก้ไขให้ถูกต้อง เครื่องก็จะปรากฏเครื่องหมาย A:\> หรือ C:\

การออกไปยัง MS-DOS Prompt ใน Windows95
1. เริ่มที่เมนู Start
2. เลือกที่ Programs
3. เลือกที่ MS-DOS Prompt

MS-DOS จะประกอบด้วยไฟล์ต่าง ๆ จำนวนมากที่ทำงานประสานกัน เราจัดประเภทไฟล์ใน MS-DOS ออกเป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทไฟล์โปรแกรม
ประเภทไฟล์ข้อความ

ตัวอย่างไฟล์มีหลายกลุ่มดังนี้
1. ไฟล์โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาเบสิก ชื่อไฟล์จะมีส่วนขยายหรือนามสกุลด้วย .
2. ไฟล์คำสั่ง ชื่อไฟล์จะมีส่วนขยายลงท้ายด้วย .COM, EXE, SYS เช่น FORMAT.COM, HIMEM.SYS,CHKDSK.EXE เป็นต้น


ชนิดคำสั่ง DOS
- คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น


รูปแบบและการใช้คำสั่งต่าง ๆ
- ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้

[d:] หมายถึง Drive เช่น A:, B:
[path] หมายถึง ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename] หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext] หมายถึง ส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง


ที่มา : http://61.19.127.45/obec/digital_library/snet1/software/dos/index.html
http://www.igetweb.com/www/dataserver/index.php/index.php?mo=3&art=171608
http://yalor.yru.ac.th/~pimonpun/4121401-OS/os9-2-1.htm


วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

CPU-Z (โปรแกรม ดูค่าต่างๆ ของเครื่องคุณ) 1.5


- CPU-Z (โปรแกรม ดูค่าต่างๆ ของเครื่องคุณ) : อีกหนึ่งโปรแกรมสามัญประจำเครื่องที่ทุกคนน่าจะมีติดไว้นะครับ เพราะเจ้าโปรแกรมนี้มีคุณสมบัติ รวมถึงค่าต่างๆทั้งฮารด์แวร์ โดยเฉพาะเจ้าหน่วยประมวลผลหรือ CPU เพื่อที่เราจะได้เลือกโปรแกรมต่างๆมาใช้ หรือจะใช้ในการตัดสินใจเพิ่มอุปกรณ์ให้เข้าและทำงานรวมกับอุปกรณ์ต่างๆที่เรามีอยู่อีกด้วย

สามารถดาวน์โหลดได้ที่ : http://www.thaiware.com/main/download.php?id=10107&mirror=0

Dxdiag

คำสั่ง dxdiag คำสั่งนี้ จะเป็นการเรียก Direct X และตรวจสอบสเป็คเครื่อง สามารถดูรายละเอียดพื้นฐานได้ เช่น CPU RAM VGA SOUND


รวมคำสั่ง RUN ที่จำเป็นต้องใช้

- คำสั่ง RUN มีประโยชน์ในการเรียกใช้โปรแกรมย่อยๆ หรือเปิดหน้าต่าง ของวินโดวส์เข้ามาทำงานบางท่านอาจจะสงสัยว่า ในเมื่อ มันสามารถเรียกใช้งานโปรแกรมย่อยๆ ต่างๆ นี้ได้อยู่แล้ว เราจะใช้ คำสั่ง Run ไปทำไม

- จะว่าให้ง่ายก็คือ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ในการเรียกใช้ เพราะว่า บางโปรแกรมเราต้องคลิกเข้าไป หลายส่วน ทำให้เสีย เวลา แต่ในบางกรณี การเข้าโดยใช้เมาส์คลิกตามปกติก็จะเร็วกว่า วันนี้จะมาเสนอคำสั่ง ที่ใช้การ Run เรียกเข้ามา เพื่ออำนวยความสะดวกในการ ทำงานมากขึ้น

- ก่อนอื่น วิธีการเีรียกคำสั่ง RUN ก็ไม่ยากอะไรเลย เพียงคลิกที่ start >run จากนั้น เราก็จะพิมพ์คำสั่ง และกด Enter เข้าไปใช้งานได้ทันที

- ตัวอย่างเช่น เราต้องการจะตรวจสอบสเป็คเครื่อง แบบคร่าวๆ ( แต่ละเอียดกว่าการดู Properties ที่ My Computer ) เราก็สามารถใช้คำสั่ง dxdiag เพื่อตรวจสอบได้


* คำสั่งที่สำคัญ ได้แก่

- คำสั่ง dxdiag คำสั่งนี้ จะเป็นการเรียก Direct X และตรวจสอบสเป็คเครื่อง สามารถดูรายละเอียดพื้นฐานได้ เช่น CPU RAM VGA SOUND
- คำสั่ง devmgmt.msc ใช้ในการเรียกหน้าต่าง Device Manager ขึ้นมา
- คำสั่ง wuaucpl.cpl เปิดหน้าต่าง Auto Update
- คำสั่ง appwiz.cpl เข้าโปรแกรม Add/Remove Program
- คำสั่ง clipbrd เรียกดู คลิปบอร์ด
- คำสั่ง diskmgmt.msc เรียกโปรแกรม Disk Management ใช้จัดการดิสก์ เช่น ฟอร์แมต เปลี่ยนตัวอักษรประจำไดร์วต่างๆ
- คำสั่ง compmgmt.msc เรียกดู Computer Management
- คำสั่ง calc เรียกเครื่องคิดเลข
- คำสั่ง eventvwr.msc เรียกดูประวัติเหตุการณ์ใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์
- คำสั่ง gpedit.msc จัดการเกี่ยวกับ Group Policy ( ใช้ใน Win XP Home ไม่ได้นะ )
- คำสั่ง ncpa.cpl เปิดหน้าต่าง Network Connectionส่วนคำสั่งต่อไปนี้ เรามักจะใช้กันบ่อยมาก ในกรณีที่ติดไวรัส บางครั้งถึงแม้ว่าเราจะกำจัดไวรัสไปแล้ว แต่อาการต่างๆ ยังคงอยู่
- คำสั่ง msconfig เป็นคำสั่งเรียกโปรแกรมเพื่อกำหนดค่าต่างๆ ของ Windows ส่วนใหญ่ไวรัส มักจะแอบไปใส่ค่าให้ เรียกตัวเองขึ้นมาตั้งแต่เริ่มเข้าใช้งาน
- คำสั่ง regedit เรียกโปรแกรม Registry Editor อยากจะแก้ไขอะไรต้องระวังหน่อย แต่ถ้าทำตามคู่มือกำจัดไวรัสก็ไม่เป็นไรหรอก

ที่มา : http://99it.co.cc/PageSub.asp?pagesub=48

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โปรเซส และ Thread (Process and Thread)


แบบทดสอบ
1. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของโปรเซส
ก. โค้ดโปรแกรม
ข. PCB
ค. PSI
ง. หมายเลขโปรเซส

เฉลย ค. PSI
ที่ถูกคือ PSW เป็นตัวควบคุมลำดับการเอ็กซิคิวต์คำสั่งของโปรเซสและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของโปรเซส ที่อยู่ของคำสั่งที่จะเอ็กซิคิวต์ต่อไป

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 49

2. ข้อใดเรียงลำดับสถานะของโปรเซสได้ถูกต้อง
ก. New->Ready->Wait->Running->Block->Terminate
ข. New->Ready->Wait->Block->Running->Terminate
ค. New->Ready->Running->Block->Wait->Terminate
ง. New->Ready->Running->Wait->Block->Terminate

เฉลย ง. New->Ready->Running->Wait->Block->Terminate
สถานะเริ่มต้น (New) เป็นสถานะที่เริ่มต้นสร้างโปรเซส
สถานะพร้อม (Ready) เป็นสถานะที่พร้อมจะครอบครองซีพียูในทันทีที่ระบบปฏิบัติการมอบหมายงานให้ สถานะนี้จะยังไม่มีการรันโปรเซสเพียงหยุดนิ่งอยู่เท่านั้น
สถานะรัน (Running) เป็นสถานะที่โปรเซสที่ครอบครองซีพียูอยู่แล้วมีการรันโปรเซสนั้นโดยการเอ็กซิคิวต์คำสั่งในโปรแกรมของโปรเซส
สถานะรอ (Wait) เป็นสถานะที่โปรเซสกำลังรอเหตุการณ์บางอย่างให้เกิดขึ้นก่อน
สถานะบล็อก (Block) เป็นสถานะที่อาจจะต้องการใช้อุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต หรือเกิดอินเทอร์รัพต์ระหว่างที่รันโปรเซส จะต้องรอให้มีการจัดการอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต หรือเกิดอินเทอร์รัพต์ให้เรียบร้อยก่อนจะกลับไปสถานะรันได้ต่อไป
สถานะสิ้นสุด (Terminate) เป็นสถานะที่หยุดนิ่งอันเนื่องมาจากการที่โปรเซสถูกเอ็กซิคิวต์หมดทุกคำสั่งในโปรแกรมแล้ว

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 49

3. รูปแบบของเมลล์บ็อกซ์สามารถแบ่งออกเป็นกี่แบบ
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง. 5

เฉลย ข.3
รูปแบบการใช้เมลล์บ็อกซ์มี 3 แบบคือ
- เมลล์บ็อกซ์แบบคิว
- เมลล์บ็อกซ์แบบไปป์
- เมลล์บ็อกซ์แบบสแต็ก

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 60

4. ความจุแบบใดที่ทำให้คิวมีขนาดคงที่เป็น n
ก. ความจุศูนย์
ข. ความจุแบบมีขอบเขต
ค. ความจุไม่มีขอบเขต
ง. ไม่มีข้อใดถูก

เฉลย ข. ความจุแบบมีขอบเขต
ความจุแบบมีขอบเขต ความจุแบบนี้จะทำให้คิวมีขนาดคงที่เป็น n ดังนั้นจะมีแมสเสจได้สูงสุด n แมสเสจที่เก็บในคิวได้

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 62

5. คุณสมบัติของ Mutual Exclusion มีกี่ประการ
ก. 2
ข. 4
ค. 6
ง. 8

เฉลย ข. 4
คุณสมบัติ 4 ประการของ Mutual Exclusion มีดังนี้
- จะต้องไม่มีโปรเซส 2 โปรเซสอยู่ใน Critical Region พร้อมกัน
- จะต้องไม่มีสมมุติฐานและข้อจำกัดเกี่ยวกับความเร็ว และจำนวนซีพียูมาเกี่ยวข้อง
- จะต้องไม่มีโปรเซสใดๆ ภายนอก Critical Region ที่บล็อกการทำงานของโปรเซสอื่น
- จะต้องไม่มีโปรเซสใดที่รอการเข้า Critical Region ตลอดเวลา

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 67

6. การแก้ปัญหา Mutual Exclusion with busy waiting มีกี่วิธี
ก. 3
ข. 5
ค. 7
ง. 9
เฉลย ข. 5
การแก้ปัญหา Mutual Exclusion with busy waiting มี 5 วิธีดังนี้
- Disable Interrupt
- Lock Variable
- Strict Alternation
- Peterson's Solution
- TSL Intruction

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 69

7. Thread อาจจะแบ่งตามการระดับการสนับสนุนได้กี่แบบ
ก. 2
ข. 4
ค. 6
ง. 8
เฉลย ก. 2
Thread อาจจะแบ่งตามการระดับการสนับสนุนได้ 2 แบบ คือ
- User Thread
- Kernel Thread

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 89

8. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของ Thread
ก. พอยเตอร์ สำหรับชี้ตำแหน่ง
ข. สแต็ก (Stack) เพื่อเก็บประวัติการเอ็กซิคิวต์
ค. ชุดของรีจีสเตอร์ เพื่อเก็บค่าตัวแปรที่ทำงานอยู่
ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก

เฉลย ก. พอยเตอร์
พอยเตอร์ จะเป็นองค์ประกอบของโปรเซส สำหรับชี้ตำแหน่งของโปรเซสที่อยู่ในหน่วยความจำ และตำแหน่งของรีซอร์สที่โปรเซสครอบครองอยู่
Thread เป็นหน่วยพื้นฐานของการจัดสรรการใช้ประโยชน์ซีพียู ที่ประกอบด้วย
- หมายเลข Thread (thread ID) เป็นหมายเลข Thread ในโปรเซส
- ตัวนับ เพื่อติดตามให้ทราบคำสั่งต่อไปที่จะเอ็กซิคิวต์
- ชุดของรีจีสเตอร์ เพื่อเก็บค่าตัวแปรที่ทำงานอยู่
- สแต็ก (Stack) เพื่อเก็บประวัติการเอ็กซิคิวต์

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 48 และ 87

9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อได้เปรียบของ multithreaded
ก. การเอื้อประโยชน์ของสถาปัตยกรรมมัลติโปรเซสเซอร์
ข. ความประหยัด
ค. การแชร์รีซอร์ส
ง. ความเร็ว

เฉลย ง. ความเร็ว
ข้อได้เปรียบของ multithreaded
การที่ระบบปฏิบัติการสนับสนุนระบบ multithreaded ทำให้มีข้อได้เปรียบใน 4 กลุ่มหลักๆ ดังนี้
- การตอบสนอง
- การแชร์รีซอร์ส
- ความประหยัด
- การเอื้อประโยชน์ของสถาปัตยกรรมมัลติโปรเซสเซอร์

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 88-89

10. การยกเลิกที่ Thread อื่นสั่งให้ target thread หยุดทันที เป็นการยกเลิก Thread แบบใด
ก. การยกเลิกแบบ Asynchronous
ข. การยกเลิกแบบ Deferred
ค. การยกเลิกแบบ multithreaded
ง. การยกเลิกแบบ Pthread

เฉลย ก. การยกเลิกแบบ Asynchronous
การยกเลิกแบบ Asynchronous เป็นการยกเลิกที่ Thread อื่นสั่งให้ target thread หยุดทันที

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 92

พื้นฐานระบบคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ

แบบทดสอบ

1. คอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
ก. 4 ประเภท
ข. 5 ประเภท
ค. 6 ประเภท
ง. 7 ประเภท

เฉลย ง. 7 ประเภท
ประเภทของคอมพิวเตอร์อาจแบ่งเป็น 7 ประเภทดังนี้
- คอมพิวเตอร์ระดับยิ่งใหญ่ หรือซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
- คอมพิวเตอร์ระดับใหญ่ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
- คอมพิวเตอร์ระดับเล็ก หรือมินิคอมพิวเตอร์
- คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ พีซี
- คอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึก หรือโน็ตบุค
- คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เลขาส่วนตัว หรือพีดีเอ
- คอมพิวเตอร์เครือข่ายหรือ เน็ต

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 17-18

2. ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยองค์ประกอบกี่ด้าน
ก. 3 ด้าน
ข. 4 ด้าน
ค. 5 ด้าน
ง. 6 ด้าน

เฉลย ค. 5
ระบบคอมพิวเตอร์ควรจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ
- ฮาร์ดแวร์
- ซอฟต์แวร์
- บุคลากร
- ข้อมูล
- กระบวนการทำงาน

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 19

3. ฮาร์ดแวร์สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่หน่วย
ก. 2 หน่วย
ข. 4 หน่วย
ค. 6 หน่วย
ง. 8 หน่วย

เฉลย ข. 4 หน่วย
- หน่วยรับข้อมูลหรืออินพุต
- หน่วยประมวลผล กลาง หรือพีซี
- หน่วยเก็บข้อมูล
- หน่วยแสดงข้อมูลหรือเอาต์พุต

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 19-22

4. ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็นฃกี่กลุ่มใหญ่
ก. 3 กลุ่มใหญ่
ข. 4 กลุ่มใหญ่
ค. 5 กลุ่มใหญ่
ง. 6 กลุ่มใหญ่

เฉลย ก. 3 กลุ่มใหญ่ คือ
- ซอฟต์แวร์ระบบ
- ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 22-23

5. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับยุค ค.ศ. 1945 – 1955 ของคอมพิวเตอร์
ก. มีความซับซ้อนมากขึ้นใช้คุณลักษณะเวอร์ชวลแมชชีน มีการสื่อสารข้อมูล มีการสนับสนุนระบบการจัดการฐานข้อมูล
ข. เป็นยุคคอมพิวเตอร์พื้นฐาน เป็นหลอดสุญญากาศแบบธรรมดา ยังไม่มีระบบปฏิบัติการและเครื่องยังมีขนาดใหญ่มาก
ค. เป็นยุคทรายซิสเตอร์ ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์มีความหน้าเชื่อถือมากขึ้น
ง. เริ่มมีการคิดค้นที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง และมีการพัฒนาภาษาขั้นสูง และมีระบบปฏิบัติการที่ดีขึ้นมาอีก

เฉลย ข. เป็นยุคคอมพิวเตอร์พื้นฐาน เป็นหลอดสุญญากาศแบบธรรมดา ยังไม่มีระบบปฏิบัติการและเครื่องยังมีขนาดใหญ่มาก

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 28

6. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับยุคที่ 4 (ค.ศ. 1980 – ปัจจุบัน) ของคอมพิวเตอร์
ก. มีการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ
ข. เป็นยุคทรานซิสเตอร์
ค. มีอินพุต/เอาท์พุต
ง. มีระบบช่วยในการตัดสินใจ

เฉลย ข. เป็นยุคทรานซิสเตอร์
ยุคที่ 2 (ค.ศ. 1955 – 1964 ) เป็นยุคทรานซิสเตอร์
ยุคที่ 4 (ค.ศ. 1980 – ปัจจุบัน) มีความซับซ้อนมากขึ้น ใช้ระบบปฏิบัติการแบบ multi-mode ใช้คุณลักษณะเวอร์ชวลแมชชีน มีการสื่อสารข้อมูล มีการสนับสนุนระบบการจัดการฐานข้อมูล ระบบจัดการสารสนเทศ มีอินพุต/เอาท์พุต มีการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ มีระบบช่วยในการตัดสินใจ รวมถึงการติดต่อระยะไกล ข้ามประเทศข้ามทวีปโดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 28

7. ระบบย่อยอินพุต/เอาต์พุตประกอบด้วย
ก. ไดร์เวอร์สำหรับดีไวซ์ที่มีรูปเฉพาะ
ข. อินเทอร์เฟซพื้นฐานของดีไวซ์ไดร์เวอร์
ค. การจัดการหน่วยความจำที่รวมทั้งบัพเพอร์ ,แคช และสพูล
ง. ถูกทุกข้อ

เฉลย ง. ถูกทุกข้อ
ระบบย่อยอินพุต/เอาต์พุตประกอบด้วย
- การจัดการหน่วยความจำที่รวมทั้งบัพเพอร์ ,แคช และสพูล
- อินเทอร์เฟซพื้นฐานของดีไวซ์ไดร์เวอร์
- ไดร์เวอร์สำหรับดีไวซ์ที่มีรูปเฉพาะ

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 41

8. System Calls จัดเป็นกี่กลุ่มหลัก
ก. 3 กลุ่ม
ข. 5 กลุ่ม
ค. 7 กลุ่ม
ง. 9 กลุ่ม

เฉลย ข. 5 กลุ่ม
System Calls จัดเป็น 5 กลุ่มหลักคือ
- การควบคุมโปรเซส
- การจัดการกับไฟล์
- การจัดการดีไวซ์
- การบำรุงรักษาข้อมูล
- การติดต่อสื่อสาร

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 44-45

9. หน้าที่หลักของระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งออกได้เป็นกี่หลัก
ก. 2 หลัก
ข. 3 หลัก
ค. 4 หลัก
ง. 5 หลัก

เฉลย ข. 3 หลัก
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการแบ่งหน้าที่หลักได้ดังนี้
- การติดต่อกับผู้ใช้ หรือยูเซอร์อินเทอร์เฟซ คุณสามารถสั่งติดต่อหรือสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่คุณต้องการได้ โดยสั่งผ่านฮาร์ดแวร์ต่างๆ
- ควบคุมดูแลอุปกรณ์ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์อาจไม่มีความจำเป็นต้องทราบกลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์เนื่องจากระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ทำงานเป็นระบบและสอดคลอดโดยไม่ผิดพลาด แต่เนื่องจากระบบปฏิบัติการมีส่วนประกอบของรูทีนเพื่อควบคุมอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก คุณสามมารถเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมดูแลอุปกรณ์เหล่านี้ได้ ก็จำทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น
- จัดสรรทรัพยากรทรัพยากร คือสิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อโปรแกรมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น ซีพียู หน่วยความจำ ดิสก์ อุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต หรือข้อมูล เป็นต้น

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 26-27

10. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเริ่มปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. ใด
ก. ค.ศ.1970
ข. ค.ศ.1974
ค. ค.ศ.1977
ง. ค.ศ.1979

เฉลย ก. ค.ศ.1970
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนี้เริ่มปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1970 ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ CP/M พัฒนาต่อมาเป็น DOS

ที่มา : หนังสือระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) หน้า 34