ระบบปฏิบัติการ DOS เป็นอย่างไร ?

ภาพโปรแกรมดอส (DOS)
- DOS เป็นระบบปฏิบัติการ (operating system) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆการเรียก DOS ขึ้นมาใช้งานจะเรียกว่า การ Boot DOS- ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปใช้ระบบปฏิบัติการที่จัดเก็บอยู่บนแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ เอ็มเอสดอส (Microsort Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์คอร์ปอเรชัน ระบบปฏิบัติการนี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้ใช้และพัฒนาการทางด้านซอฟต์แวร์และฮารด์แวร์
- ดอส เป็นระบบปฏิบัติการบนเครื่องพีซีสำหรับเครื่องไอบีเอ็ม หรือไอบีเอ็มคอมแพตติเบิ้ลที่เคยเป็นที่นิยมใช้งานมากในอดีตหรือแม้แต่ในปัจจุบันก็ยังมีการใช้งานกันอยู่ ดอสเป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการทำงานเป็นแบบงานเดียว (Single task) ซึ่งหมายความว่าขณะที่มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานใดอยู่นั้น จะต้องรอจนกว่างานนั้นจะเสร็จก่อนจึงจะสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างอื่นต่อไป ตัวอย่างเช่น ถ้าสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์ไฟล์ออกทางเครื่องพิมพ์ ก็จะต้องรอจนกว่าการพิมพ์นั้นจะเสร็จสิ้นจึงจะสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอื่นต่อไปได้
- ดอส เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากในหมู่ผู้ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นผลงานของบริษัทไมโครซอฟต์คอร์เปอร์เรชั่น(Microsoft Corporation) ความเป็นมาของเอ็มเอสดอสเริ่มจากที่บริษัทไอบีเอ็ม(IBM) ได้สร้างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีชื่อว่าพีซี (PC:personal computer) และว่าจ้างบริษัทไมโครซอฟต์ให้ช่วยออกแบบระบบปฏิบัติการของเครื่องพีซีนี้ โดยใช้ชื่อว่าพีซีดอส (PC-DOS) เครื่องพีซีได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จนมีบริษัทอื่น ๆ สร้างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เลียนแบบเครื่องไอบีเอ็ม ซึ่งสามารถทำงานได้เหมือนกัน เป็นเครื่องแบบเดียวกัน เรามักนิยมเรียกเครื่องที่สร้างเลียนแบบนี้ว่า “เครื่องคอมแพตติเบิ้ล” (compatible) ถ้าเครื่องคอมแพตติเบิ้ลต้องการทำงานให้เหมือนกับพีซีของไอบีเอ็มแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบปฏิบัติการที่เหมือนกัน แต่พีซีดอสเป็นลิขสิทธ์ของไอบีเอ็มที่ขายให้กับผู้ใช้เครื่องของไอบีเอ็มเท่านั้น ดังนั้นบริษัทไมโครซอฟต์จึงสร้างระบบปฏิบัติการใหม่ออกสู่ตลาด เพื่อให้เครื่องคอมแพตติเบิ้ลทั้งหลายได้ใช้ มีชื่อว่า เอ็มเอสดอส (MS-DOS) โดยไมโครซอฟต์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งเอ็มเอสดอสและพีซีดอสนี้ความจริงแล้วเหมือนกัน เป็นระบบปฏิบัติการตัวเดียวกัน เพียงแต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้นเอง (ด้วยเหตุผลเชิงพาณิชย์ที่กล่าวมา) เอ็มเอสดอสหรือพีซีดอสได้ถูกพัฒนาออกมาหลายเวอร์ชั่น โดยมีขีดความสามารถมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในเวอร์ชั่นหลัง ๆ ไอบีเอ็มได้แยกพัฒนาพีซีดอสด้วยตนเอง ทำให้พีซีดอสและเอ็มเอสดอสในเวอร์ชั่นหลัง ๆ มีความแตกต่างกัน (ซึ่งมักจะต่างกันทางด้านความสามารถพิเศษต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่แล้วยังคงเหมือนกันอยู่)
- ดอสมีต้นกำเนิดมาจากระบบปฏิบัติการ CP/M ที่ใช้กับเครื่อง 8 บิตในสมัยก่อน แต่ปัจจุบัน CP/M ไม่มีใช้กันแล้วบนเครื่องพีซี เนื่องจากการเข้ามาของดอสตัวใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วเพื่อให้ทันกับความสามารถของฮาร์ดแวร์ที่สูงขึ้น ปัจจุบันดอสที่เป็นที่รู้จักและยังเป็นที่นิยมใช้งานอยู่ได้แก่
> MS-DOS เป็นระบบปฏิบัติการบนเครื่องพีซีจากบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งสามารถใช้งานกับเครื่องพีซี ตั้งแต่ 16 บิตขึ้นไป โดย “MS” ย่อมาจาก Microsoft
> PC-DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาโดยความร่วมมือระหว่างบริษัทไมโครซอฟต์และไอบีเอ็ม เพื่อให้สามารถใช้กับเครื่องของไอบีเอ็มโดยเฉพาะ โดย “PC” ย่อมาจาก “Personal Computer”
> Novell’s DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาให้มีความสามารถทางด้านเครือข่าย ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก DR-DOS ที่สร้างโดยบริษัท Digital Research
- โดยทั่วไป MS-DOS และ PC-DOS จะมีรูปแบบการใช้งานเหมือนกัน แต่อาจมีการทำงานภายในของบางโปรแกรมหรือบางคำสั่งเท่านั้นที่ต่างกัน MS-DOS ได้มีการพัฒนามาพร้อมๆ กับเครื่องพีซี โดยครั้งแรกบริษัท ซีแอตเติลได้สร้างระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า 86-DOS เพื่อใช้งานกับซีพียู 8086 และพัฒนามาหลายรุ่นจนถึงรุ่น 86-DOS 1.0 บริษัทไมโครซอฟต์จึงได้ตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์ทั้งหมดของ 86-DOS จากซีแอตเติล และเปลี่ยนชื่อจาก 86-DOS เป็น MS-DOS และได้ทำการพัฒนา MS-DOS ให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของฮาร์ดแวร์ จากรุ่นหรือเวอร์ชั่น (version) แรกสุดคือ 1.0 ที่ออกมาในปี ค.ศ. 1981 ได้มีการพัฒนาปรับปรุง เวอร์ชั่นให้สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนในปัจจุบันเป็นเวอร์ชั่น 6.2 ที่ออกมาในปี 1993 และสำหรับ PC-DOS เวอร์ชั่นปัจจุบันคือ 6.1
- โดยทั่วไปซอฟต์แวร์เกือบทุกประเภทจะมีตัวเลขอยู่หลังชื่อซอฟต์แวร์นั้น เพื่อแสดงถึงเวอร์ชั่นที่มีการพัฒนา ยิ่งเวอร์ชันสูงมากขึ้นเท่าไรความสามารถของซอฟต์แวร์นั้นก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถใช้ประสิทธิ-ภาพของฮาร์ดแวร์ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วได้ดียิ่งขึ้น
- ปัจจุบันบริษัทไอบีเอ็มได้เลิกพัฒนาพีซีดอสแล้ว แต่หันไปสร้างระบบปฏิบัติการโอเอสทูขึ้นมา ส่วนบริษัทไมโครซอฟต์ยังคงพัฒนาเอ็มเอสดอสของตนต่อไปอีก เนื่องจากยังมีผู้นิยมใช้กันอยู่เป็นจำนวนมาก ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงลักษณะทั่ว ๆ ไปที่มีเป็นของทั้งเอ็มเอสดอสและพีซีดอส และจะขอเรียกสั้น ๆ ว่า“ดอส”ตามที่นิยมเรียกกัน
การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส
- การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
- การบูทเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2. Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
1. กดปุ่ม Reset
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ

ภาพแสดงหน้าจอการบูทเครื่องด้วยระบบปฏิบัติการดอส
การ Boot จากแผ่นดิสก์ มีขั้นตอนดังนี้
- นำแผ่น DOS ใส่ Drive A แล้วเปิดสวิตซ์เครื่อง รอสักครู่จะปรากฏไฟแดงที่ช่องขับจานแม่เหล็กช่อง A แสดงว่ากำลังอ่าน และถ่ายทอดข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่อง และเมื่อไฟแดงที่ช่องขับจานแม่เหล็กดับ จะมีข้อความปรากฏที่หน้าจอตามรูปแบบ ดังนี้
CURRENT DATE IS JAN 01-01-01
ENTER NEW DATE (MM-DD-YY)
หมายความว่า วันที่ในเครื่อง คือ วันจันทร์ที่ 1 เดือนมกราคม 2544 ถ้าถูกต้องตรงตามวันที่ใช้งาน ให้กดปุ่ม Enter ได้เลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ให้ใส่ วันที่ปัจจุบันลงไปตามที่กำหนด คือ
MM หมายถึง เลขที่ของเดือน ( 1-12 )
DD หมายถึง วันที่ปัจจุบัน ( 1-31 )
YY หมายถึง ปี ค.ศ.
เมื่อเติมวันที่ หรือ กดปุ่ม Enter ผ่านไป จะมีข้อความปรากฏที่หน้าจอ ดังนี้
CURRENT TIME IS 08:30:15.15
ENTER NEW TIME: ( HH-MM-SS )
หมายความว่า นี้เวลาในเครื่อง คือ 8 นาฬิกา 30 นาที 15 วินาที ถ้าถูกต้องตรงตามเวลาที่ใช้งาน ให้กดปุ่ม Enter ได้เลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ให้ใส่ เวลาปัจจุบันลงไปตามที่กำหนด คือ
HH หมายถึง เวลาเป็นชั่วโมง
MM หมายถึง เวลาเป็นนาที
SS หมายถึง เวลาเป็นวินาที (แต่ไม่จำเป็นต้องเติมเพราะเครื่องจะคำนวณให้อัตโนมัติ)
เมื่อเติมเวลา หรือ กดปุ่ม Enter ผ่านไป เครื่องก็จะขึ้นเครื่องหมาย A:> ที่หน้าจอ สัญลักษณ์นี้เรียกว่า A Prompt
A หมายถึง ขณะนี้เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังติดต่อกับช่องขับจานแม่เหล็ก A อยู่ ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามีฮาร์ดดิสก์และมีโปรแกรม DOS บรรจุอยู่ จะเห็นเป็นสัญลักษณ์เป็น C:> คือช่องขับจานแม่เหล็กช่อง C นั่นเอง
Prompt หมายถึง สัญลักษณ์ที่แสดงว่าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมที่จะปฏิบัติงานแล้ว เครื่องหมาย Prompt นี้ สามารถเปลี่ยนรูปแบบตามต้องการได้ คือ Prompt แล้วตามด้วยสัญลักษณ์ต่อไปนี้
$ คือ ตัวอักษร g คือ เครื่องหมาย >
T คือ เวลา l คือ เครื่องหมาย <>ตัวอย่าง
ผลคือ SOMCHAI
หรือ SOMCHAI PROMPT $P$G กด ENTER
ผลคือ C:\>
การ Boot จากฮาร์ดดิสก์ มีขั้นตอนดังนี้
- เปิดเครื่องโดยไม่ต้องใส่แผ่นดิสก์ใน Drive A
- DOS จะถูก Boot จาก Drive C: แทน ภายหลัง Boot จาก Drive C เสร็จแล้ว จะปรากฏสัญลักษณ์ C:\>
หลังจากที่มีการ Boot DOS เสร็จแล้ว เราสามารถใช้คำสั่งโปรแกรมจัดระบบงาน DOS ทำงานได้ทันที แต่ผู้ใช้ควรต้องรู้จักปรับปรุงคำสั่งรวมทั้งพิมพ์รูปแบบคำสั่งรวมทั้งพิมพ์รูปแบบคำสั่งให้ถูกต้อง เพราะถ้าพิมพ์คำสั่งไม่ถูกต้อง เครื่องจะไม่รู้จัก และจะปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้ และจะปรากฏข้อความว่า
" BAD COMMAND OR FILE NAME "
ถ้าเครื่องปรากฏข้อความดังกล่าวให้ผู้ใช้ปฏิบัติดังนี้ คือ
1. สำรวจดูว่าคำสั่งดังกล่าวพิมพ์ถูกต้องหรือไม่ หรือ
2. รูปแบบคำสั่งที่ใช้ถูกต้องหรือไม่
เมื่อผู้ใช้ทำการสำรวจข้อผิดพลาดดังกล่าวแล้ว ให้แก้ไขให้ถูกต้อง เครื่องก็จะปรากฏเครื่องหมาย A:\> หรือ C:\
การออกไปยัง MS-DOS Prompt ใน Windows95
1. เริ่มที่เมนู Start
2. เลือกที่ Programs
3. เลือกที่ MS-DOS Prompt
MS-DOS จะประกอบด้วยไฟล์ต่าง ๆ จำนวนมากที่ทำงานประสานกัน เราจัดประเภทไฟล์ใน MS-DOS ออกเป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทไฟล์โปรแกรม
ประเภทไฟล์ข้อความ
ตัวอย่างไฟล์มีหลายกลุ่มดังนี้
1. ไฟล์โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาเบสิก ชื่อไฟล์จะมีส่วนขยายหรือนามสกุลด้วย .
2. ไฟล์คำสั่ง ชื่อไฟล์จะมีส่วนขยายลงท้ายด้วย .COM, EXE, SYS เช่น FORMAT.COM, HIMEM.SYS,CHKDSK.EXE เป็นต้น
ชนิดคำสั่ง DOS
- คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่าง ๆ
- ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:] หมายถึง Drive เช่น A:, B:
[path] หมายถึง ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename] หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext] หมายถึง ส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง
ที่มา : http://61.19.127.45/obec/digital_library/snet1/software/dos/index.html
http://www.igetweb.com/www/dataserver/index.php/index.php?mo=3&art=171608
http://yalor.yru.ac.th/~pimonpun/4121401-OS/os9-2-1.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น