System Configuration Utility (msconfig)
-เมื่อเครื่องของเรามีปัญหา เช่น Boot ไม่ขึ้น หรือ Boot แล้วเข้าสู่วินโดวส์ได้แล้ว แต่ทำงานผิดปกติไป เช่น มีตัวอะไรแปลกๆโผล่ขึ้นมา เครื่องช้าลง มีอาการฟ้องว่า หน่อยความจำของเราเหลือน้อยเกินไป (ทั้งๆที่มีตั้ง 256 แล้ว) เครื่องมือตัวนี้จะมีส่วนช่วยเราอย่างมากในการสืบเสาะ ค้นหาว่าอะไรคือตัวการสำคัญที่ทำให้เครื่องเราเพี้ยนไป
- หลักการคือ เมื่อเครื่องของเรามีอาการไม่ดีขึ้น สิ่งที่เราต้องทำคือ
1. ตั้งสมมุติฐานว่า มันน่าจะเกิดจากปัญหาทางด้านอุปกรณ์ (Hardware) หรือทางด้านโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ (Software ซึ่งหมายรวมถึง OS ด้วย)
2. ทำการตรวจหาต้นตอให้พบ
3. ลองทดสอบโดยการยกเลิกการใช้งานสิ่งที่ต้องสงสัยชั่วคราว หากยกเลิกแล้วเครื่องเราทำงานได้ปกติ แสดงว่าสิ่งนั้นน่าจะเป็นต้นเหตุของปัญหาจริงๆ
4. พิจารณาว่าจะจัดการอย่างไรกับต้นเหตุนั้นๆ เช่น ถอนออกไปเลย ติดตั้งใหม่ ซ่อม เปลี่ยนตัวใหม่ หรือเลิกใช้มันไปเลย
5. ท้ายสุด ให้ลองกลับไปศึกษาการใช้งานของเครื่องมือตัวนั้นๆให้ดีว่า มันมีข้อควรระวังอะไรบ้าง แล้วเราได้ทำอะไรที่ฝืนกับข้อระวังนั้นหรือไม่ เครื่องจะได้ไม่มีปัญหาอีก
- เอาล่ะ ในที่นี้จะขอคิดว่า เครื่องเรามีปัญหาด้าน Software นะ เจ้า System Configuration Utility (msconfig) นั้น หลายคนมักใช้ในการปรับแต่งด้านประสิทธิภาพของเครื่อง ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว Function ตัวนี้นั้น ถูกทำขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจหาสาเหตุของอาการผิดพลาดที่เกิด ขึ้น ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาณ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเบื้องต้นเป็นหลัก (แต่ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มสมรรถณะของเครื่องเราให้เพิ่มขึ้นได้ ในทางอ้อม) โดยจะแนะนำให้รู้จักเจ้า System Configuration Utility (msconfig) คร่าวๆกันก่อนนะ
- เราสามารถที่จะเรียกใช้เจ้า System Configuration Utility ขึ้นมาได้หลายทาง แต่ขอแนะนำทางที่ง่ายที่สุด โดยให้เราทำดังนี้
- ให้เราไปที่ Start >> Run >> จากนั้นพิมพ์คำว่า msconfig ลงไป แล้ว OK เจ้า System Configuration Utility ก็จะปรากฏขึ้นมาพร้อมให้เราใช้งานดังภาพด้านล่าง


- Option Normal ทั่วไปใหญ่ๆ ส่วนมากจะมีผลต่อการบูตเครื่องของเรา ว่าจะให้เครื่องเราบูตขึ้นมาได้ด้วยลักษณะแบบไหน เช่น
> Option Normal Statup นั้น หากเราเลือกไว้ จะทำให้เครื่องของเราบูตขึ้นมาพร้อมกับโหลดโปรแกรมหรือ Service ต่างๆที่ติดตั้งลงในเครื่องของเราขึ้นมาหมดทุกตัว จะส่งผลให้เครื่องของเรามีสถานะที่พร้อมใช้ Function ของโปรแกรมทุกตัวที่มีในเครื่อง แต่จะส่งผลให้เครื่องของเราบูตช้าลง และทำให้หน่วยความจำถูกใช้งานไปมาก จึงไม่เหมาะสำหรับเครื่องที่มี RAM ต่ำๆ
- ผลจากการเลือก Option ตัวนี้ จะเห็นว่าเครื่องโหลดโปรแกรมต่างๆขึ้นมาเพียบเลย


> Option Selective Startup นั้น หากเราเลือกตรงนี้ เราสามารถจะเข้าไปเลือกในหมวดย่อยๆตรงกรอบสี่เหลี่ยมด้านล่างได้อีก ว่าระหว่างที่เครื่องกำลังบูตขึ้นมานั้น จะให้อะไรหรือไม่ให้อะไรโหลดขึ้นมา (เราจะสังเกตได้ว่าเจ้าปุ่มสี่เหลี่ยมนั้นมีชื่อคล้ายกับ TAB ต่างๆด้านบนสุด) พร้อมๆกับที่เครื่องกำลังบูตครับ โดยความหมายคือ
- ถ้ามีเครื่องหมาย

- ถ้ามีเครื่องหมาย

- ถ้ามีเครื่องหมาย

- ผลจากการเข้าไปปรับแต่งใน Option ตัวนี้ จะเห็นว่าเครื่องโหลดอะไรขึ้นมาน้อยลง

ใน Tab BOOT.INI นั้น จะประกอบไปด้วย

- ส่วนของ Boot Option ในส่วนนี้ เราสามารถเลือกได้ว่าจะให้เครื่องของเราบูตขึ้นมาในลักษณะแบบไหน โดยติ๊กให้มีเครื่องหมาย ในหัวข้อที่ต้องการ ดังเช่น
Network ระบบจะโหลดเข้าสู่เซฟโหมดโดยโหลดระบบ Network ขึ้นมาใช้งานด้วย
DSRepair
Minimal (Alternateshell)
> SAFEBOOT -- อันนี้จะเป็นการทำให้เครื่องของเราบูตเข้ามาใน Safe Mode ครับ เหมือนกับกด F โดยเรายังสามารถเลือกรายละเอียดที่ลึกลงไปได้อีก เช่น
> Minimal ระบบจะโหลดเครื่องมือต่างๆมาน้อยที่สุดครับเหมือนกับกด F8
> Network ระบบจะโหลดเข้าสู่เซฟโหมดโดยโหลดระบบ Network ขึ้นมาใช้งานด้วย
> DSRepair
> Minimal (Alternateshell)
> Minimal ระบบจะโหลดเครื่องมือต่างๆมาน้อยที่สุดครับเหมือนกับกด F8
> Network ระบบจะโหลดเข้าสู่เซฟโหมดโดยโหลดระบบ Network ขึ้นมาใช้งานด้วย
> DSRepair
> Minimal (Alternateshell)
- NOGUIBOOT -- อันนี้เครื่องจะบูตโดยไม่มีหน้าจอที่มีแถบสีฟ้าวิ่งๆนะ
- BOOTLOG -- อันนี้จะทำให้บูตขึ้นมาเหมือนปกติครับ แต่ระบบจะบันทึกเหตุการณ์ต่างๆเอาไว้ใน Log File ด้วย
- BASEVIDEO -- อันนี้เครื่องจะบูตขึ้นมาพร้อมๆกับใช้ทรัพยากรด้านจอภาพอย่างมากที่สุด เพื่อสำหรับให้เราทดสอบความสามารถของระบบการประมวลผลภาพ
- SOS -- อันนี้ระบบจะบูตขึ้นมาแบบโหมดตัวอักษร ไม่มีกราฟฟิกใดๆจนกว่าจะเข้าสู่วินโดวส์เรียบร้อยแล้ว
- BASEVIDEO -- อันนี้เครื่องจะบูตขึ้นมาพร้อมๆกับใช้ทรัพยากรด้านจอภาพอย่างมากที่สุด เพื่อสำหรับให้เราทดสอบความสามารถของระบบการประมวลผลภาพ
- SOS -- อันนี้ระบบจะบูตขึ้นมาแบบโหมดตัวอักษร ไม่มีกราฟฟิกใดๆจนกว่าจะเข้าสู่วินโดวส์เรียบร้อยแล้ว
- ในส่วนของ TimeOut จะมีหน่วยเป็นวินาที เพื่อเป็นการหน่วงเวลาเอาไว้ให้เราเลือกว่าจะบูตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการอัน ไหน ในกรณีที่เรามีระบบปฏิบัติการมากกว่า 1 เราสามารถปรับให้ช้าขึ้นหรือเร็วลงได้ ในที่นี้ตั้งค่าหน่วงเวลาไว้ 30 วินาที
- ในส่วนของ Boot Loader นั้น เราสามารถปรับแต่งได้ว่าจะให้ระบบปฏิบัติการตัวไหนเป็นดีฟอลต์ คือเป็นระบบปฏิบัติการตัวแรกที่จะใช้ โดยจะส่งผลให้เมื่อเราบูตเครื่องขึ้นแล้ว ไม่กดปุ่มใดๆภายในระยะเวลาที่กำหนด เครื่องก็จะบูตเข้ามาสู่ระบบที่เราตั้งเป็นดีฟอลต์นี้ครับ ซึ่งทำได้โดยให้เราทำการคลิ๊กที่ OS ระบบปฏิบัติการที่เราต้องการให้เป็นดีฟอลต์ครับ แล้วกด Set as Default ครับ แค่นี้ ระบบนั้นๆก็จะกลายเป็นระบบแรกที่จะถูกบูตขึ้นมาแล้ว

- แต่ถ้าต้องการให้ชื่อของระบบที่เรามีนั้นเรียงตามลำดับที่ต้องการเวลาโชว์ ที่หน้าจอตอนเลือกบูต ก็ให้ทำการกดปุ่ม Move UP หรือ Move Down เพื่อเลื่อนตำแหน่งขึ้นหรือลง
- ใน TAB Startup นั้น จะประกอบไปด้วยรายชื่อโปรแกรมต่างๆที่ได้ถูกกำหนดไว้ในตอนที่เรา Install ว่าให้บูตขึ้นมาพร้อมๆเครื่องได้ โดยจะแสดงทั้งตำแหน่งที่ติดตั้งโปรแกรมนั้นๆ และค่าในรีจิสทรี้ต่างๆด้วย
- วิธีการคือ เมื่อเราเข้ามาใน TAB นี้ ก็ให้เราเลือกดูในกรอบหมายเลข 2 ว่า มีโปรแกรมใดที่เราคิดว่าไม่จำเป็นต้องให้มันโหลดตัวเองขึ้นมาพร้อมๆกับ การบูตของเครื่อง ก็ให้เราเอาเครื่องหมาย




คราวนี้หลังจากที่เราปรับแต่งส่วนต่างๆจนหมดแล้ว ก็ให้เรากดที่ปุ่ม




เครดิด : http://www.justusers.net/
ที่มา : http://www.itubon.com/à¸à¸à¸à¸§à¸²à¸¡à¸à¹à¸²à¸£à¸¹à¹à¹à¸à¸µà¹à¸¢à¸§à¸à¸±à¸à¹à¸à¸°à¸à¸³---System-Configuration-Utility-(msconfig)/736
รักเธอก็รักไปหมดทั้งตัว starvegas
ตอบลบ